วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ




การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ



1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงาน
     1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เช่น การใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มและช่องทางการสื่อสาร
     1.2 งานกระจายเอกสาร เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทเลเท็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
     1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่าย โทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
     1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าวนี้ได้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างภาพ (Computer Graphic Devices) เครื่อง Scanner โทรทัศน์ และ วีดีทัศน์ เป็นต้น
     1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์ การบันทึกข้อมูลเสียงโดยใช้ Sound Blaster เป็นต้น
     1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลดิมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม
     2.1 อุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบ รถยนต์ ปฏิบัติการผลิต เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ
     2.2 อุตสาหกรรมการพิมพ์ เช่นระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับบรรณาธิกรณ์ ตีพิมพ์ จัดเก็บ และจัดจำหน่าย และสามารถพิมพ์ข้อมูลจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วีดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วนและเทเลเท็กซ์ได้รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลเสนอภาพ (Visual Display)

3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน
เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำของธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้


4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ดังนี้
     5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน
     5.2 ระบบสาธารณะสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน แพทย์อาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็กเท่าไรเพื่อที่จะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที
     5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค หลักการที่ใช้คือ เก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ให้ระเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence : AL มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวความคิดทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน

6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
     6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เช่น การนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน
     6.2 การศึกษาทางไกล เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ ผู้เรียนศึกษาเอง จนไปถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference)
     6.3 เครือข่ายการศึกษา เช่น บริการ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronics Mail : E-mail ) การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็ป
     6.4 การใช้งานในห้องสมุด เช่น การค้นหาหนังสือ การจัดหนังสือ
     6.5 การใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลอง

     6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนนักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแนะแนวอาชีพ และการศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลของครู

7. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่บ้าน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ในแสวงหาความรู้ ใช้สื่อสารทาง Internet ใช้พิมพ์งานและจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ 










ที่มา: http://www.hpk.ac.th/hpk3/grouplearning/tecnology/songkrant/ict/technology3.htm




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

ขณะนี้:เวลา

ปฏิทิน 2556

กรมอุตุนิยมวิทยา